แบดมินตัน
ประวัติกีฬาแบดมินตัน
แบดมินตัน (Badminton)
เป็นกีฬาที่ได้รับการวิจารณ์เป็นอย่างมากเพราะไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดถึงที่มาของกีฬาประเภทนี้
คงมีแต่หลักฐานบางอย่างที่ทำให้ทราบว่ากีฬาแบดมินตันมีเล่นกันในยุโรป
โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษตอนปลายศตวรรษที่ 17
และจากภาพสีน้ำมันหลายภาพได้ยืนยันว่ากีฬาแบดมินตันเล่นกันอย่างแพร่หลายในพระราชวงศ์ของราชสำนักต่างๆ
ในทวีปยุโรป แม้ว่าจะเรียกกันภายใต้ชื่ออื่นก็ตาม
ประวัติของกีฬาแบดมินตันบันทึกได้แน่นอนในปี พ.ศ. 2413
ปรากฏว่ามีการเล่นกีฬาลูกขนไก่เกิดขึ้นที่เมืองปูนา (Poona) ในประเทศอินเดีย
เป็นเมืองเล็กๆ ห่างจากเมืองบอมเปย์ประมาณ 50 ไมล์ โดยได้ร่วมการเล่นสองอย่างเข้าด้วยกันคือ
การเล่นปูนาของประเทศอินเดีย และการเล่นไม้ตีกับลูกขนไก่ (Battledore Shuttle
Cock) ของยุโรป ในระยะแรกๆ การเล่นจะเล่นกันเพียงแต่ในหมู่นายทหารของกองทัพ
และสมาชิกชนชั้นสูงของอินเดีย
จนกระทั่งมีนายทหารอังกฤษที่ไปประจำการอยู่ที่เมืองปูนา
นำการเล่นตีลูกขนไก่นี้กลับไปอังกฤษ และเล่นกัน ณ คฤหาสน์แบดมินตัน (Badminton House) ของยุคแห่งบิวฟอร์ด ที่กล๊อสเตอร์เชอร์ ในปี พ.ศ. 2416
เกมกีฬาตีลูกขนไก่เลยถูกเรียกว่า แบดมินตัน ตามชื่อคฤหาสน์ของดยุคแห่งบิวฟอร์ดตั้งแต่นั้นมา
กีฬาแบดมินตันเริ่มแพร่หลายในประเทศแถบภาคพื้นยุโรป
เพราะเป็นเกมที่คล้ายเทนนิส แต่สามารถเล่นได้ภายในตัวตึก
โดยไม่ต้องกังวลต่อลมหรือหิมะในฤดูหนาว ชาวยุโรปที่อพยพไปสู่ทวีปอเมริกา
ได้นำกีฬาแบดมินตันไปเผยแพร่ รวมทั้งประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชียและออสเตรเลียที่อยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ
เนเธอร์แลนด์ ต่างนำเกมแบดมินตันไปเล่นยังประเทศของตนอย่างแพร่หลาย
เกมกีฬาแบดมินตันจึงกระจายไปสู่ส่วนต่างๆ ของโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2436 ได้มีการจัดตั้งสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศอังกฤษขึ้น
ซึ่งนับเป็นสมาคมแบดมินตันแห่งแรกของโลก
มีการจัดแข่งขันแบดมินตันชิงชนะเลิศแห่งประเทศอังกฤษ หรือที่เรียกกันว่า ออลอิงแลนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.
2432 เป็นต้นมา ต่อมาได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลก ประเทศในเอเซียอาคเนย์ที่มีการเล่นกีฬาแบดมินตันและได้รับความนิยมสูงสุดคือ
อินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศไทย
ในปี พ.ศ. 2477
สมาคมแบดมินตันของประเทศอังกฤษเป็นผู้นำในการก่อตั้งสหพันธ์แบดมินตันระหว่างประเทศ
โดยมีชาติต่างๆ อีก 8 ชาติคือ แคนาดา เดนมาร์ก อังกฤษ ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์
เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ สก๊อตแลนด์ และเวลล์ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงลอนดอน ปัจจุบันมีประเทศที่อยู่ในเครือสมาชิกกว่า
60 ประเทศที่ขึ้นต่อสหพันธ์แบดมินตันระหว่างประเทศ (I.B.F.) สหพันธ์มีบทบาทสำคัญในการกำหนดและควบคุมกติการะเบียบข้อบังคับต่างๆ
ของการแข่งขันกีฬาแบดมินตันทั่วโลก
ประวัติแบดมินตันในประเทศไทย
การเล่นแบดมินตันได้เข้ามาสู่ประเทศไทยในราวปี พ.ศ. 2456
โดยเริ่มเล่นกีฬาแบดมินตันแบบมีตาข่าย โดยพระยานิพัทยกุลพงษ์ ได้สร้างสนามขึ้นที่บ้าน
ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองสมเด็จเจ้าพระยาธนบุรี แล้วนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลายออกไป
ส่วนมากเล่นกันตามบ้านผู้ดีมีตระกูล วังเจ้านาย และในราชสำนัก
ต่อมาปี พ.ศ. 2494 พระยาจินดารักษ์ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นสมาคมชื่อว่า
"สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทย" เมื่อแรกตั้งมีอยู่ 7 สโมสร คือ
สโมสรสมานมิตร สโมสรบางกอก สโมสรนิวบอย สโมสรยูนิตี้ สโมสร ส.ธรรมภักดี สโมสรสิงห์อุดม และสโมสรศิริบำเพ็ญบุญ
ซึ่งในปัจจุบันนี้เหลือเป็นสโมสรสมาชิกของสมาคมอยู่เพียง 2 สโมสร คือสโมสรนิวบอย และสโมสรยูนิตี้เท่านั้น และในปีเดียวกัน
สมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยก็ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหพันธ์แบดมินตันนานาชาติด้วย วงการแบดมินตันของไทยยกย่อง นายประวัติ
ปัตตพงศ์ (หลวงธรรมนูญวุฒิกร) เป็นบิดาแห่งวงการแบดมินตันของประเทศไทย
สนามและอุปกรณ์สนาม
1. สนามจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าประกอบด้วยเส้นกว้างขนาด 40 มิลลิเมตร
ตามภาพผัง ก.
2. เส้นทุกเส้นต้องเด่นชัด และควรทาด้วยสีขาวหรือสีเหลือง
3. เส้นทุกเส้นเป็นส่วนประกอบของพื้นที่ซึ่งกำหนดไว้
4. เสาตาข่ายจะต้องสูง 1.55 เมตรจากพื้นสนาม
และตั้งตรงเมื่อขึงตาข่ายให้ตึงตามที่ได้กำหนดไว้ในกติกา ข้อ 1.10
โดยที่จะต้องไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของเสายื่นเข้ามาในสนาม (เฉพาะรายการที่รับรองโดย
IBF จะต้องใช้ระเบียบนี้
จนกระทั่ง 1 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ทุกรายการที่แข่งขันจะต้องยึดตามระเบียบนี้)
5. เสาตาข่ายจะต้องตั้งอยู่บนเส้นเขตข้างของประเภทคู่ ตามที่ได้แสดงไว้ในภาพผัง
ก. โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะเป็นประเภทเดี่ยวหรือเล่นคู่
6. ตาข่ายจะต้องถักด้วยเส้นด้ายสีเข้ม และมีขนาดตากว้างไม่น้อยกว่า 15 มิลลิเมตร
และไม่เกิน 20 มิลลิเมตร
7. ตาข่ายต้องมีความกว้าง 760 มิลลิเมตร และความยาวอย่างน้อย 6.1 เมตร
8. ขอบบนของตาข่ายต้องมีแถบผ้าสีขาวพับสอง ขนาดกว้าง 75 มิลลิเมตร
ทับบนเชือกหรือลวดที่ร้อยตลอดแถบผ้าขาว
9. เชือกหรือลวดต้องมีขนาดพอที่จะขึงให้ตึงเต็มที่กับหัวเสา
10 .สุดขอบบนตาข่ายต้องสูงจากพื้นที่ตรงกึ่งกลางสนาม
1.524 เมตร และ 1.55 เมตร
เหนือเส้นเขตข้างของประเภทคู่
11. ต้องไม่มีช่องว่างระหว่างสุดปลายตาข่ายกับเสา
ถ้าจำเป็นต้องผูกร้อยปลายตาข่ายทั้งหมดกับเสา
ภาพผัง ก.
ลูกขนไก่
1. ลูกขนไก่อาจทำจากวัสดุธรรมชาติ
หรือวัสดุสังเคราะห์ ไม่ว่าลูกนั้นจะทำจากวัสดุชนิดใดก็ตาม
ลักษณะวิถีวิ่งทั่วไป จะต้องเหมือนกับลูกซึ่งทำจาก
ธรรมชาติ ฐานเป็นหัวไม้ก๊อก
หุ้มด้วยหนังบาง
2 .ลูกขนไก่ต้องมีขน 16 อัน ปักอยู่บนฐาน
3. วัดจากปลายขนถึงปลายสุดของฐาน โดยความยาวของขนในแต่ละลูกจะเท่ากันหมด ระหว่าง
62
มิลลิเมตร ถึง 70 มิลลิเมตร
4. ปลายขนแผ่เป็นรูปวงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 58 มิลลิเมตร ถึง 68
มิลลิเมตร
5 .ขนต้องมัดให้แน่นด้วยเส้นด้าย หรือวัสดุอื่นที่เหมาะสม
6. ฐานของลูกต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มิลลิเมตร ถึง 28 มิลลิเมตร
และส่วนล่างมนกลม
7. ลูกขนไก่จะมีน้ำหนักตั้งแต่ 4.74 ถึง 5.50 กรัม
8. ลูกขนไก่ที่ไม่ใช้ขนธรรมชาติ
9.ใช้วัสดุสังเคราะห์แทนขนธรรมชาติ
10 .ฐานลูก ดังที่ได้กำหนดไว้ในกติกาข้อ 6
กติกาในการเล่นแบดมินตัน
•การออกนอก
มีการกำหนดเส้นออกแตกต่างกันในกรณีเล่นเดี่ยวและเล่นคู่
•การเสิร์ฟลูก ตามกติกา
ที่ถูกต้อง คือ
•หัวไม้ขณะสัมผัสลูกต้องต่ำกว่าข้อมืออย่างเห็นได้ชัด
•หัวไม้ขณะสัมผัสลูกต้องต่ำกว่าเอวอย่างเห็นได้ชัด
•ผู้เล่นต้องไม่ถ่วงเวลา
หรือเสิร์ฟช้า หรือเสริฟ 2 จังหวะ
การเสริฟ
ต้องเสิร์ฟไปด้วยจังหวะเดียว
•ขณะเสิร์ฟ
ส่วนใดส่วนหนึ่งของเท้าทั้ง 2 ข้างต้องสัมผัสพื้นตลอดเวลา
•การเสิร์ฟลูกที่ถูกต้อง
ต้องให้แร็กเก็ตสัมผัสกับหัวลูกก่อน หากโดนขนก่อนถือว่าผิดกติกา
•ขณะตีลูกโต้กัน
ห้ามนำส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายหรือไม้แบดไปสัมผัสกับเน็ท
•ห้ามตีลูกที่ฝั่งตรงข้ามโต้กลับมาในขณะที่ลูกยังไม่ข้ามเน็ทมายังแดนเรา
(Over net)
การดิวส์
• หากผู้เล่นทั้งสองฝ่ายทำคะแนนได้เท่ากันในคะแนนที่ 20 จะมีการเล่นต่อ
จนกว่าว่าจะมีคะแนนมากกว่าฝ่ายตรงข้าม 2 คะแนน แต่ถ้ายังไม่สามารถทำคะแนนห่างกัน 2
แต้มได้ จะเล่นต่อไปเรื่อยๆ แต่ เมื่อแต้มได้ 29 เท่ากัน ใครที่ทำได้แต้ม 30
ก่อนก็จะเป็นฝ่ายชนะทันที
การเปลี่ยนข้าง
•1.1 ผู้เล่นจะเปลี่ยนข้าง
:-
•1. 2 หลังจากจบเกมที่ 1
•1.1.2
ก่อนเริ่มเล่นเกมที่ 3 (ถ้ามี) และ
•1.1.3 ในเกมที่ 3
หรือในการแข่งขันเกมเดียว เมื่อคะแนนนำถึง 6 คะแนน สำหรับเกม 11 คะแนน / 8 คะแนน
สำหรับเกม 15 คะแนน
•1.2
ถ้าผู้เล่นลืมเปลี่ยนข้างตามที่ได้ระบุไว้ในกติกาข้อ 8.1
ผู้เล่นต้องเปลี่ยนข้างทันทีที่รู้ตัวและลูกไม่อยู่ในการเล่น
และให้นับนับคะแนนต่อจากคะแนนที่ได้ในขณะนั้น
ประเภทของกีฬาแบดมินตัน
ประเภทเดี่ยว
•สนามส่งลูกและรับลูก
•
ผู้เล่นจะส่งลูกและรับลูกในสนามส่งลูกด้านขวา เมื่อผู้ส่งลูกทำคะแนนไม่ได้
หรือคะแนนที่ได้เป็น
เลขคู่ในเกมนั้น
•
ผู้เล่นจะส่งลูกและรับลูกในสนามส่งลูกด้านซ้าย
เมื่อผู้ส่งลูกได้คะแนนเป็นเลขคี่ในเกมนั้น
•
ผู้ส่งลูกและรับลูกจะตีโต้ลูกจนกว่าจะเกิด เสีย หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น
• คะแนนและการส่งลูก
•ถ้าผู้รับทำเสีย
หรือลูกไม่อยู่ในการเล่นเพราะตกลงบนพื้นสนามของผู้รับ ผู้ส่งลูกได้คะแนน
ผู้ส่งจะได้ส่งลูกต่อไปในสนามส่งอีกด้านหนึ่ง
• ถ้าผู้ส่งทำเสีย
หรือลูกไม่อยู่ในการเล่นเพราะตกลงบนพื้นสนามของผู้ส่ง ผู้ส่งหมดสิทธิ์การส่งลูกและผู้รับก็จะได้เป็นผู้ส่งลูก โดยผู้เล่นทั้งสองฝ่ายไม่ได้คะแนน
ประเภทคู่
•เมื่อเริ่มเล่นแต่ละครั้ง
ฝ่ายที่ได้สิทธิ์ส่ง ต้องเริ่มส่งจากสนามส่งลูกด้านขวา
•
ผู้รับลูกเท่านั้นเป็นผู้ตีลูกกลับไป ถ้าลูกถูกตัว หรือคู่ขาของผู้รับตีลูก ถือว่า
เสีย ผู้ส่งลูกได้ 1 คะแนน
•ลำดับการเล่นและตำแหน่งยืนในสนาน
•
หลังจากได้รับลูกที่ส่งมาแล้ว ผู้เล่นของฝ่ายส่งคนหนึ่งคนใดตีลูกกลับไป
และผู้เล่นคนหนึ่งคนในของฝ่ายรับโต้ลูกกลับมา เป็นอย่างนี้เรื่อยไปจนกว่า
ลูกไม่อยู่ในการเล่น
•หลังจากได้รับลูกที่ส่งมาแล้ว
ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดจะตีโต้ลูกจากที่ใดก็ได้ภายในสนามของตนโดยมีตาข่ายกั้น
• สนามส่งลูกและรับลูก
•
ผู้เล่นมีสิทธิ์ส่งตอนเริ่มต้นของแต่ละเกม จะส่งหรือรับลูกในสนามส่งด้านขวา
เมื่อผู้เล่นฝ่ายนั้นไม่ได้คะแนน หรือคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคู่
และในสนามส่งลูกด้านซ้ายเมื่อคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคี่
•
ผู้เล่นที่เป็นผู้รับตอนเริ่มต้นของแต่ละเกม จะรับหรือส่งลูกในสนามส่งลูกด้านขวา
เมื่อผู้เล่นฝ่ายนั้นไม่ได้คะแนน หรือคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคู่
และในสนามส่งลูกด้านซ้าย เมื่อคะแนนในเกมนั้นเป็นเลขคี่
•
ให้คู่ขาของผู้เล่นปฏิบัติในทางกลับกัน
•11.5 คะแนนและการส่งลูก
•11.5.1 ถ้าฝ่ายรับทำ เสีย
หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น เพราะลูกตกลงบนพื้นสนามของฝ่ายรับ ฝ่ายส่งได้ 1 คะแนน
และผู้ส่งยังคงได้ส่งลูกต่ออีก
•11.5.2 ถ้าฝ่ายส่งทำ เสีย
หรือลูกไม่อยู่ในการเล่น เพราะลูกตกลงบนพื้นสนามของฝ่ายส่ง ผู้ส่งหมดสิทธิ์ส่งลูก
โดยผู้เล่นทั้งสองฝ่ายไม่ได้คะแนน
มารยาท
1.
ผู้แข่งขันต้องตระหนักอยู่เสมอว่าผู้เข้าแข่งขันเป็นนักกีฬาสมัครเล่น
ซึ่งต้องมีน้ำใจเป็นนักกีฬาอยู่เสมอ และพร้อมที่จะให้อภัยแกความผิดพลาดทุกโอกาส
โดยไม่คำนึงถึงผลแพ้ชนะเป็นสำคัญจนเกินได้
2.
ผู้เข้าแข่งขันแต่งกายด้วยชุดกีฬาสีขาว สะอาด เรียบร้อย
3.
ยิ้มแย้มแจ่มใสต่อคู่แข่งขันแสดงออกถึงมิตรภาพความสุภาพ อ่อนโยนด้วยการสัมผัสมือ
หรือเปิดโอกาสให้คู่แข่งขันได้วอร์ม รวมทั้งไม่เอาเปรียบคู่ต่อสู้หรือคู่แข่งขันในการเสี่ยง
ให้โอกาสคู่ต่อสู้เป็นผู้นำการเลือกเสี่ยงก่อน
4.
ไม่แสดงกริยาที่ไม่ดีเมื่อทำเสียเอง ด้วยท่าทางหรือคำพูด
รวมทั้งการกล่าวตำหนิผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน
5.
ใช้คำพูดที่สุภาพในการแข่งขัน
6. การถามข้อสงสัย
หรือถามคะแนนต่อผู้ตัดสินในระหว่างการแข่งขันควรจะใช้ถ้อยคำที่สุภาพ
7.
การอุทธรณ์คำวินิจฉัยของผู้ตัดสิน
ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้แข่งขันควรจะใช้ถ้อยคำที่ระมัดระวัง
และเมื่อได้ทำการอุทธรณ์แล้ว ผู้อุทธรณ์ต้องอยู่ในความสงบ
และพร้อมที่จะทำการแข่งขันต่อไปได้
และเมื่อผู้ตัดสินชี้ขาดอย่างไรก็ต้องปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ
8.
เมื่อขณะดำเนินการแข่งขันอยู่หากจะหยุดพัก เช่น ขอเช็ดเหงื่อ ดื่มน้ำ
เปลี่ยนแร็กเกต เปลี่ยนรองเท้าถุงเท้า ฯลฯ ต้องขออนุญาตผู้ตัดสินทุกครั้ง
เมื่อได้รับอนุญาติแล้วจึงปฏิบัติได้
9.
ในการส่งลูกเสียไปให้คู่ต่อสู้จะต้องส่งลูกข้ามตาข่ายไปให้เสมอ
การส่งลูกลอดใต้ตาข่ายไปให้คู่ต่อสู้ถือว่าเป็นการเสียมารยาทอย่างรุนแรง
ประโยชน์ในการเล่นแบดมินตัน
•ทำให้ร่างกายแข็งแรงและอวัยวะทุกส่วนได้พัฒนาอยู่เสมอโดยเฉพาะข้อมือ
แขน ขา และ สายตา
•เป็นกีฬาที่ต้องใช้สมรรถภาพทางร่างกายที่ดี
สมรรถภาพทางร่างกายดังกล่าว คือความแข็งแรง ความอดทน
การทำงานสัมพันธ์กันของระบบประสาทกับระบบกล้ามเนื้อ พลังความยืดหยุ่นของอวัยวะต่าง
ๆ ความคล่องตัว ความทนทานของกล้ามเนื้อ และระบบไหลเวียนเลือด ดังนั้น
จึงทำให้ผู้เล่นมีร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ
•ถ้าเล่นแบดมินตันเพื่อความอดทน
จะช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น เพิ่มอัตราการเผาผลาญอาหารให้สูงขึ้น
เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ และอัตราการหายใจให้ลึกและดีขึ้นด้วย
•แบดมินตันมีวิธีการตีลูกหลายแบบ
จึงมีเทคนิคเล่นมากมายที่ทำให้ได้ การฝึกฝนการใช้สติปัญญาอยู่ตลอดเวลา
•เป็นกีฬาที่ต้องใช้ความฉลาด
ไหวพริบ และการส่อหลอกประกอบกัน
จึงกล่าวได้ว่าการเล่นแบดมินตันเป็นการทำสงครามด้วยความฉลาด เพราะการเล่นมีการรุก
รับตลอดเวลา
•ช่วยผ่อนคลายความตรึงเครียดและสร้างความพอใจให้ผู้เล่นเพราะคนทั่ว
ๆ ไปต้องการเล่นให้สนุกสนานปล่อยอารมณ์ไปกับการเคลื่อนไหวตามชนิดต่าง ๆ ของกิจกรรม
ตามหลักจิตวิทยาแล้วแบดมินตันยังช่วยเสริมสร้างและรักษาจิตใจได้อีกด้วย
จิตแพทย์คาร์ล เมนนินเยอร์(Dr.Karl Menninger)หัวหน้าหน่วยงานTopekaซึ่งเป็นหน่วยงานระดับโลก
ได้แนะนำให้ใช้กีฬาแบดมินตันเป็นกิจกรรมนันทนาการสำหรับคนไข้ที่ผิดปกติทางอารมณ์
และไม่ใช่แต่จะทำให้สุขภาพจิตของคนป่วยดีขึ้นเท่านั้นคนปกติก็ดีขึ้นด้วยเช่นกัน
•เป็นกีฬาที่สร้างเสริมมนุษย์สัมพันธ์
มิตรภาพ และการแสดงออกที่แสดงถึงความมีน้ำใจนักกีฬาอย่างแท้จริง
เพราะการเล่นต้องเล่นร่วมกับคนอื่น ๆ
ได้มีการพบปะสังสรรค์ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย
จะได้รับประโยชน์เท่าๆ กัน
•เป็นกีฬาที่มีคนนิยมมาก
มีรางวัลสูง มีการแข่งขันทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้ได้เห็นเกมส์แบดมินตันดี ๆ อยู่เสมอ